วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557

barcode

บาร์โค้ด (Barcode)

บาร์ โค้ด หมายถึง เลขหมายประจำตัวสินค้า ใช้แทนด้วยแท่งบาร์ขาว-ดำ เรียงเข้าด้วยกัน และประกอบด้วยตัวเลข8-13หลักสามารถอ่านได้ด้วยเครื่องสแกนเนอร์โดยอาศัยหลักของการ
สะท้อนแสงนิยมใชักับสินค้าอุปโภคบริโภคแทบทุกชนิดและสินค้าสำเร็จรูปต่างๆการออกเลขหมาย
ให้กับสินค้าแต่ละตัวจะช่วยให้การติดต่อกันระหว่างผู้ค้า (ผู้ผลิต ผู้ค้าส่ง ผู้จัดจำหน่ายและผู้ค้าปลีก) สามารถทำงานได้ราบรื่นขึ้นเปรียบได้กับบัตรประจำตัวประชาชนที่เป็นเครื่องชี้บอกถึงความ
แตกต่างกันของแต่ละคนเลขหมายประจำตัวสินค้าก็เป็นเครื่องชี้บอกถึงความแตกต่างของสินค้า
ชนิดนั้นกับสินค้าอื่น ๆสินค้าทุกชนิดที่มีความแตกต่างกันไม่ว่าจะเป็น ขนาด สี จำนวนบรรจุ จะมีเลขหมายประจำตัวสินค้าต่างกันตัวอย่างเช่นไอศกรีมรสวนิลาจะมีเลขหมายประจำตัวคนละ
เลขหมายต่างจากไอศกรีมรสช็อกโกแล็ตหรือในกรณีกล่องใหญ่ที่บรรจุถ้วย12ใบจะมีเลขหมาย
ประจำตัวแตกต่างจากถ้วย 1 ใบ


บาร์โค้ดช่วยอะไรได้บ้าง


การนำบาร์โค้ดมาใช้ในธุรกิจการค้าจะมีคุณประโยชน์หลายประการ คือ
ลดขั้นตอนและประหยัดเวลาการทำงาน การซื้อ-ขาย สินค้าจะมีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น โดยเฉพาะการรับชำระเงิน การออกใบเสร็จ การตัดสินค้าคงคลัง


ง่ายต่อระบบสินค้าคงคลังคอมพิวเตอร์ซึ่งเชื่อมกับเครื่องสแกนเนอร์จะตัดยอดสินค้าโดยอัตโนมัติ จึงสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับการหมุนเวียนสินค้า สินค้ารายการใดจำหน่ายได้ดีหรือไม่ มีสินค้าเหลือเท่าใด



ยกระดับมาตรฐานสินค้า การระบุแหล่งผลิตของประเทศแต่ละราย ทำให้ผู้ผลิตปรับปรุงคุณภาพเพื่อรักษาภาพพจน์ของสินค้าและสอดคล้องกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเรื่องสัญลักษณ์ รหัสแท่งสำหรับแสดงข้อมูลสินค้า


สร้างศักยภาพเชิงแข่งขันในตลาดต่างประเทศ รหัสแท่งเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงสินค้าที่มีคุณภาพดีเชื่อถือได้ การมีรหัสประจำตัวของแต่ละประเทศทำให้ผู้ที่สนใจซื้อสินค้าสามารถทราบถึงแหล่งผลิตและติดต่อซื้อ-ขายกันได้สะดวกโดยตรง เป็นการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อการส่งออก
เพิ่มประสิทธิภาพการบริหาร ข้อมูลจากระบบรหัสแท่ง จะช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถตัดสินใจวางแผน และบริหารงานด้านการผลิต การจัดซื้อ และการตลาดได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
ใช้กับธุรกิจใดบ้าง


ด้านผู้ผลิต เลขหมายประจำตัวสินค้าก่อให้เกิดวิวัฒนาการด้านบรรจุภัณฑ์ ตามหลักการ "หีบห่อก่อผลกำไรงาม"เลขหมายประจำตัวของผู้ผลิตแต่ละรายจะมีส่วนช่วยบ่งบอกถึงคุณภาพ
ของสินค้าและแหล่งติดต่อของผู้ผลิตโอกาสทางการตลาดของผู้ผลิตจึงเปิดกว้างไปอีกมาก


สำหรับผู้ค้าส่งหรือผู้นำเข้าในต่างประเทศมีข้อมูลเกี่ยวกับผู้ผลิตหรือแหล่งผลิตที่จะสามารถ
จัดหาสินค้าได้สะดวกและกว้างขวางออกไปตลอดจนมีโอกาสซื้อสินค้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐานรวมทั้งสามารถใช้ประโยชน์ด้านระบบข้อมูลเพื่อการบริหารงานโดยเฉพาะข้อมูลด้านการขายและสินค้าคงคลัง


กับระบบการค้าปลีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้าปลีกขนาดใหญ่แบบ Supermarket หรือ Massmarket ระบบเลขหมายประจำตัวสินค้าและสัญลักษณ์รหัสแท่งจะช่วยให้การคิดเงินและการ
เก็บเงินของพนักงานถูกต้องและรวดเร็วมากจึงสามารถบริการลูกค้าได้อย่างรวดเร็วนอกจากนี้
ยังไม่ต้องติดป้ายบอกราคาสินค้าซึ่งมีเป็นจำนวนมากบนสินค้าแต่ละชิ้นทำให้ลดปริมาณงานลง
และสะดวกต่อการปรับราคาขาย


สะดวก & แม่นยำ


ลักษณะการทำงานบาร์โค้ดจะถูกอ่านด้วยเครื่องสแกนเนอร์บันทึกข้อมูลเข้าไปเก็บใน
คอมพิวเตอร์โดยตรงไม่ต้องกดปุ่มที่แท่นพิมพ์โดยอาศัยหลักของการสะท้อนแสงทำให้มีความ
สะดวกรวดเร็วในการทำงานมากขึ้นเครื่องสแกนเนอร์มีชนิดต่างๆกันซึ่งสามารถทำงานได้อย่างมี
ประสิทธิภาพเมื่ออ่านบาร์โค้ดที่ได้รับการพิมพ์อย่างถูกต้องเครื่องสแกนเนอร์จะถูกต่อเข้ากับ
คอมพิวเตอร์กลางเพื่อทำหน้าที่เก็บข้อมูลทุกครั้งที่มีการซื้อเข้าและการขายออกได้อย่างถูกต้อง
แม่นยำ


ลักษณะสำคัญของบาร์โค้ด


บาร์โค้ดจะต้องมีความคมชัดของเส้นแต่ละเส้นไม่ขาดหายขนาดของบาร์โค้ดจะมีขนาด
มาตรฐานของแต่ละระบบอยู่แล้ว โดยสามารถย่อลงได้มากสุด 20% พื้นที่ด้านข้างของตัวบาร์โค้ด (Quiet Zone) จะต้องมีเนื้อที่ 10 เท่าของแท่งรหัสที่เล็กที่สุด หรือมากกว่า 3.6 มิลลิเมตร มิฉะนั้นจะอ่านไม่ออก



สำหรับสีที่เลือกใช้ โดยทั่วไปสีดีที่สุดคือตัวบาร์โค้ดสีดำบนพื้นที่สีขาว ซึ่งทำให้อ่านง่าย เนื่องจากเครื่องอ่านอาศัยหลักการสะท้อนแสงของเส้นทึบและพื้นสว่างถ้าใช้คู่สีผิดอาจทำให้อ่านไม่ออก ควรหลีกเลี่ยงการใช้สีสะท้อนแสงในการพิมพ์แท่งรหัสสินค้าและพื้นที่ว่างด้านหลังแท่งรหัส เพราะสีสะท้อนแสงจะสะท้อนแสงใส่เครื่องอ่านทำให้อ่านยากหรืออ่านไม่ได้เลย


ระบบของบาร์โค้ด


การติดบาร์โค้ดของสินค้านั้นๆโดยเฉพาะนอกจากจะคำนึงถึงความสะดวกรวดเร็วในการ
ทำงานขึ้นแล้วยังจะต้องคำนึงถึงการใช้มาตรฐานการกำหนดเลขหมายที่ได้รับการยอมรับจาก
ทั่วโลกอีกด้วย


ปัจจุบันมาตรฐานที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก มีประมาณ 11 ระบบ

UPC [Uniform Product Code] ใช้เมื่อปี พ.ศ. -2515 ในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา แบ่งออกเป็น 4 ประเภท
1.1 แบบย่อมี 8 หลัก หรือเรียก UPC-E ใช้กับสินค้าที่มีข้อมูลน้อย
1.2 แบบมาตรฐานมี 12 หลัก หรือเรียก UPC-A ซึ่งเป็นแบบที่นิยมใช้อยู่ทั่วไป
1.3 แบบเพิ่มตัวเลข 2 หลัก หรือเรียก UPC-A+2 ในกรณีที่ UPC-A เก็บข้อมูลไม่พอ
1.4 แบบเพิ่มตัวเลข 5 หลัก หรือเรียก UPC-A+5 เพื่อเพิ่มข้อมูลให้มากขึ้น


EAN [European Article Number] เริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ.- 2519 แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

2.1 แบบย่อมี 8 หลัก หรือเรียก EAN-8 ใช้กับธุรกิจเล็ก มีข้อมูลไม่มาก
2.2 แบบมาตรฐานมี 13 หลัก หรือเรียก EAN-13
2.3 แบบเพิ่มตัวเลข 2 หลัก หรือเรียก EAN-13+12 เพื่อเพิ่มข้อมูล ถ้า EAN-13
บรรจุข้อมูลไม่หมด
2.4 แบบเพิ่มตัวเลข 5 หลัก หรือเรียก EAN-13+5 เพื่อเพิ่มข้อมูลให้มากขึ้น




CODE39 เริ่มใช้ในปพ.ศ.-2517ในธุรกิจอุตสาหกรรมเป็นบาร์โค้ดระบบแรกที่ใช้รวมกับ ตัวอักษรได้ เก็บข้อมูลได้มาก
INTERLEAVE 1 of 5 หรือเรียกว่า ITF เป็นบาร์โค้ดตัวใหญ่ใช้กับหีบบรรจุสินค้า
หรือเรียก Cass Code

CODABAR ถูกพัฒนาขึ้นมาใช้กับธุรกิจเวชภัณฑ์ ในปี พ.ศ.-2515

CODE 128 ได้ถูกพัฒนาขึ้นและยอมรับว่าได้ใช้เป็นทางการในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี พ.ศ. 2524 นิยมใช้ในวงการดีไซเนอร์และแฟชั่น ปัจจุบันกำลังเริ่มนิยมใช้ในสหรัฐอเมริกา

CODE 93 ได้เริ่มพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ.- 2525 ปัจจุบันเริ่มนิยมใช้ในวงการอุตสาหกรรม
CODE 49 ได้เริ่มพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2530 โดยพัฒนาจาก CODE 39 ให้บรรจุข้อมูลได้มากขึ้น ในพื้นที่เท่าเดิม
CODE16k เหมาะสำหรับใช้กับอุตสาหกรรมผลิตสินค้าที่เล็กมากมีพื้นที่ในการใสบาร์โค้ด น้อย เช่น อุปกรณ์อะไหล่ เครื่องไฟฟ้า
ISSN / ISBN [International Standard Book Number] ใช้กับหนังสือ และนิตยสาร

EAN / UCC 128 หรือ Shipping Container Code เป็นระบบใหม่ โดยการร่วมมือระหว่าง EAN ของยุโรป และ UCC ของสหรัฐอเมริกา โดยเอาระบบ EAN มาใช้ร่วมกับ CODE 128 เพื่อบอกรายละเอียดของสินค้ามากขึ้น เช่น วันเดือนปีที่ผลิต ครั้งที่ผลิต วันที่สั่งซื้อ มีกี่สี กี่ขนาด เป็นต้น




EAN ยอดฮิต

ปัจจุบันมาตรฐานที่ยอมรับกันมากมีอยู่ 2 ระบบ คือ UPC และ EAN ระบบ UPC ถือเป็นบาร์โค้ดระบบแรกของโลก ใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดาเท่านั้น มีหน่วยงาน Uniform Code Council [UCC] ตั้งอยู่ที่รัฐ OHIO ประเทศสหรัฐอเมริกาทำหน้าที่ดูแล

ส่วนระบบ EAN เป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในโลก โดยมีประเทศต่าง ๆ ใช้กว่า60ประเทศในภาคพื้นยุโรป,เอเชียและแปซิฟิกรวมทั้งประเทศไทยEANมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยี่ยม สำหรับบาร์โค้ดในประเทศไทยเริ่มนำมาใช้อย่างจริงจังในปี
พ.ศ.- 2536 โดยมีสถาบันสัญลักษณ์รหัสแท่งไทย [Thai Article Numbering Council] หรือ "TANC" เป็นองค์กรตัวแทนของ EAN ภายใต้การดูแลของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ประเทศไทยเลือกใช้ระบบ EAN-13 ซึ่งมีลักษณะเฉพาะของเลขชุด 13 หลัก มีความหมายดังนี้

885 - 3 หลักแรก คือรหัสของประเทศไทย
1234 - 4 ตัวถัดมา เป็นรหัสโรงงานที่ผลิต
56789 - 5 ตัวถัดมา เป็นรหัสของสินค้า
8 - ตัวเลขหลักสุดท้ายเป็นตัวเลขตรวจสอบ เลข 12 ข้างหน้าว่ากำหนดถูกต้องหรือไม่ ถ้าตัวสุดท้ายผิดบาร์โค้ดตัวนั้นจะอ่านไม่ออก สื่อความหมายไม่ได้

การขอมีรหัสบาร์โค้ด
การขอมีรหัสบาร์โค้ดสามารถยื่นขอได้ที่ TANC เพียงแห่งเดียวเท่านั้น โดยนำหลักฐานดังนี้ไปแสดงด้วย

บุคคลธรรมดา
1.สำเนาบัตรประชาชน
2.สำเนาทะเบียนบ้าน
3.สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี
4.สำเนาใบ ภ.ง.ด.90,91 หรือสำเนาใบเสร็จชำระภาษี
5.ใบสมัครสมาชิกของสถาบันฯ

ร้านค้า
1.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
2.สำเนาทะเบียนบ้าน
3.สำเนาใบทะเบียนพาณิชย์
4.สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี
5.สำเนาใบภ.ง.ด.90,91 หรือ สำเนาใบเสร็จชำระภาษี
6.ใบสมัครสมาชิกของสถาบันฯ


บริษัท / ห้างหุ้นส่วนจำกัด
1.สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท
2.สำเนาใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนบริษัท หรือใบทะเบียนการค้า
3.สำเนาหนังสือจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.20,ภพ.01 หรือ ภพ.09)
4.สำเนางบกำไรขาดทุนของปีที่ผ่านมา
5.ใบสมัครสมาชิกของสถาบันฯ
ที่มา: สถาบันรหัสสากล สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก: http://www.pen1.biz/TipBarcode.html
http://dynamicstatements.com/images/barcodes.jpg


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น